มวยไทยท้องถิ่น
มวยโคราช
ด้านเอกลักษณ์ของมวยโคราชนั้น
พบว่า สวมกางเกงขาสั้นไม่สวมเสื้อ สวมมงคลที่ศีรษะขณะชก
และที่พิเศษแตกต่างไปจากมวยภาคอื่นๆ คือการพันหมัดแบบ
คาดเชือกตั้งแต่หมัดขึ้นไปจรดศอก เพราะทางมวยไทยโคราชเป็นมวยต่อย เตะวงกว้างและใช้หมัดเหวี่ยงควาย
การพันเชือกเช่นนี้เพื่อใช้ป้องกันเตะต่อยได้ดี เบื้องต้นฝึกจากครูมวยในหมู่บ้าน
ต่อจากนั้นจึงเข้ารับการฝึกจากครูมวยในเมืองซึ่งส่วนมากจะเป็นเจ้าเมือง
ฝึกตามขั้นตอน ฝึกโดยธรรมชาติ เมื่อเกิดความคล่องแคล่วแล้วทำพิธียกครู
แล้วให้ย่างสามขุมและฝึกท่าอยู่กับที่ 5ท่า
ท่าเคลื่อนที่ 5 ท่า ฝึกลูกไม้แก้ทางมวย
11 ท่า ฝึกท่าแม่ไม้สำคัญ ประกอบด้วย ท่าแม่ไม้ครู 5 ท่า และท่าแม่ไม้สำคัญโบราณ 21ท่า
แล้วก็มีโคลงมวยเป็นคติสอนนักมวยด้วย
พร้อมทั้งคำแนะนำเตือนสติไม่ให้เกรงกลัวคู่ต่อสู้ด้านวิธีการจัดการชกมวย
นิยมจัดในงานศพ จัดในลานวัด การเปรียบมวยให้ทหารตีฆ้องไปตามหมู่บ้านแล้วร้องบอกให้ทราบไปทั่วกัน
เมื่อเปรียบได้แล้วให้นักมวยชกประลองฝีมือกันก่อน หากฝีมือทัดเทียมกันก็ให้ชก
แล้วนัดวันมาชก ในการเปรียบมวยไม่มีกฎกติกาที่แน่นอน หากพอใจก็ชกกันได้
รางวัลการแข่งขันเป็นสิ่งของเงินทอง หากเป็นการชกหน้าพระที่นั่งรางวัลที่ได้รับก็จะเป็นหัวเสือและสร้อยเงิน
มวยลพบุรี
ความเป็นมาของมวยลพบุรี
มวยลพบุรี มีวิวัฒนาการและเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทำให้มวยลพบุรีแบ่งช่วงเวลาต่าง
ๆ ตามความสำคัญเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 อยู่ระหว่างปีพุทธศักราช 1200
ถึง 2198 นับเป็นช่วงเริ่มต้นของมวยลพบุรี
มีปรมาจารย์สุกะทันตะฤาษี เป็นผู้ก่อตั้งสำนักขึ้นที่ เขาสมอคอน เมืองลพบุรี
มีลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ช่วงที่ 2 อยู่ระหว่างปีพุทธศักราช
2199 ถึง 2410 ถือเป็นช่วงสืบทอดของมวยลพบุรี
ในสมัยนี้ สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช พระมหากษัตริย์ ที่ส่งเสริมมวยลพบุรี
อย่างกว้างขวาง มีการจัดการแข่งขันโดยกำหนดขอบสังเวียนและมีกติกาการแข่งขัน
โดยมีพระพุทธเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์ อีกพระองค์หนึ่งที่สนับสนุนมวยไทยและชอบชกมวยและมักปลอมพระองค์ไปชกมวยกับชาวบ้านอยู่เป็นประจำ ช่วงที่ 3 อยู่ระหว่างปีพุทธศักราช 2411 ถึง 2487 เป็นช่วงพัฒนาของมวยลพบุรี ช่วงนี้มวยลพบุรี โด่งดังมากและเฟื่องฟูจนถึงขีดสุด โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์เรียนวิชามวยไทยจากปรมาจารย์หลวงมลโยธานุโยค
เอกลักษณ์ของมวยลพบุรี
เอกลักษณ์ของมวยลพบุรี เป็นมวยที่ชกฉลาด รุกรับคล่องแคล่วว่องไว ต่อยหมัดตรงได้แม่นยำ เรียนลักษณะการต่อยมวยแบบนี้ว่า มวยเกี้ยวซึ่งหมายถึง มวยที่ใช้ชั้นเชิงเข้าทำคู่ต่อสู้ โดยใช้กลลวงมากมายจะเคลื่อนตัวอยู่เสมอ หลอกล่อหลบลีกได้ดี สายตาดี รุกรับและออกอาวุธ หมัด เท้า เข่า ศอก ได้อย่างรวดเร็ว สมกับฉายา ฉลาดลพบุรี เอกลักษณ์ที่เห็นชัดเจนอีกประการหนึ่งก็คือ มีการพันมือครึ่งแขน แต่ที่เด่นและแปลกกว่ามวยสายอื่น ๆ ก็คือ การพันคาดทับข้อเท้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมวยลพบุรี
โดยมีพระพุทธเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์ อีกพระองค์หนึ่งที่สนับสนุนมวยไทยและชอบชกมวยและมักปลอมพระองค์ไปชกมวยกับชาวบ้านอยู่เป็นประจำ ช่วงที่ 3 อยู่ระหว่างปีพุทธศักราช 2411 ถึง 2487 เป็นช่วงพัฒนาของมวยลพบุรี ช่วงนี้มวยลพบุรี โด่งดังมากและเฟื่องฟูจนถึงขีดสุด โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์เรียนวิชามวยไทยจากปรมาจารย์หลวงมลโยธานุโยค
เอกลักษณ์ของมวยลพบุรี
เอกลักษณ์ของมวยลพบุรี เป็นมวยที่ชกฉลาด รุกรับคล่องแคล่วว่องไว ต่อยหมัดตรงได้แม่นยำ เรียนลักษณะการต่อยมวยแบบนี้ว่า มวยเกี้ยวซึ่งหมายถึง มวยที่ใช้ชั้นเชิงเข้าทำคู่ต่อสู้ โดยใช้กลลวงมากมายจะเคลื่อนตัวอยู่เสมอ หลอกล่อหลบลีกได้ดี สายตาดี รุกรับและออกอาวุธ หมัด เท้า เข่า ศอก ได้อย่างรวดเร็ว สมกับฉายา ฉลาดลพบุรี เอกลักษณ์ที่เห็นชัดเจนอีกประการหนึ่งก็คือ มีการพันมือครึ่งแขน แต่ที่เด่นและแปลกกว่ามวยสายอื่น ๆ ก็คือ การพันคาดทับข้อเท้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมวยลพบุรี
มวยไชยา
|
ความเป็นมาของมวยไชยา
|
เป็นมวยไทยโบราณของภูมิปัญญาไทย บรรพบุรุษไทย
กษัตริย์ไทยที่สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน เพื่อสืบสานต่อไปในอนาคตที่ยั่งยืน มวยไชยาสามารถแบ่งออกเป็น
4 ยุค คือ ยุคเริ่มต้น
กำเนิดขึ้นจากพ่อท่านมา หรือหลวงพ่อมาอดีตนายทหารจากพระนครสมัยรัชกาลที่ 3 ฝึกมวยให้กับชาวเมืองไชยา ยุคเฟื่องฟูในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
จากนั้นได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ แก่นักมวยจากเมืองไชยา คือ นายปรง
เป็นหมื่นมวยมีชื่อ ตำแหน่งกรรมการพิเศษ เมืองไชยา ถือศักดินา 300 ยุคเปลี่ยนแปลงในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ 9 เกิดขึ้นเพราะต้องรื้อเวที
และพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) เจ้าอาวาสเจ้าอาวาสวัดไชยามรณภาพลง จึงสิ้นสุดลงด้วยยุคอนุรักษ์หลังจากสิ้นสุดสมัยพระครูโสภณเจตสิการาม
(เอี่ยม) มวยไทยไชยาเริ่มเลือนหายไปจากความทรงจำของชาวไชยา อย่างไรก็ตามยังมีผู้ที่เคยเรียนมวยไทยไชยา
แล้วนำมาสืบทอดต่ออีกหลายท่าน เช่น ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย นายทองหล่อ ยา
และนายอมรกฤต ประมวล นายกฤษดา สดประเสริฐ นายอเล็กซ์ สุย และพันเอก อำนาจ
พุกศรีสุข เป็นต้น
เอกลักษณ์ของมวยไชยา
พบว่ามีอยู่ 7 ด้าน คือ การตั้งท่ามวยหรือการจดมวย ท่าครูหรือ ท่าย่างสามขุม การไหว้ครูร่ายรำ การพันมือแบบคาดเชือก การแต่งกาย การฝึกซ้อมมวยไชยาและแม่ไม้มวยไชยา กระบวนท่ามวยไชยามีทั้งหมด 5 ชุด คือ แม่ไม้มวยไทยไชยา 7 ท่า ได้แก่ ปั้นหมัด พันแขน พันหมัด กระโดดตบศอก พันหมัดพลิกเหลี่ยม เต้นแร้งเต้นกา ย่างสามขุม ท่าที่สำคัญคือท่า เสือลากหาง เคล็ดมวยไชยาที่ใช้ป้องกันได้ดีที่สุดคือ ป้อง ปัด ปิด เปิด
พบว่ามีอยู่ 7 ด้าน คือ การตั้งท่ามวยหรือการจดมวย ท่าครูหรือ ท่าย่างสามขุม การไหว้ครูร่ายรำ การพันมือแบบคาดเชือก การแต่งกาย การฝึกซ้อมมวยไชยาและแม่ไม้มวยไชยา กระบวนท่ามวยไชยามีทั้งหมด 5 ชุด คือ แม่ไม้มวยไทยไชยา 7 ท่า ได้แก่ ปั้นหมัด พันแขน พันหมัด กระโดดตบศอก พันหมัดพลิกเหลี่ยม เต้นแร้งเต้นกา ย่างสามขุม ท่าที่สำคัญคือท่า เสือลากหาง เคล็ดมวยไชยาที่ใช้ป้องกันได้ดีที่สุดคือ ป้อง ปัด ปิด เปิด
มวยท่าเสา
ความเป็นมาของมวยท่าเสา
มวยไทยท่าเสา เป็นสายมวยไทยภาคเหนือ ที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าสายมวยไทยท่าเสากำเนิดขึ้นเมื่อใดใครเป็นครูมวยคนแรกแต่จากหลักฐานที่ปรากฏอยู่ทำให้ทราบว่าครูมวยไทยสายท่าเสาที่มีชื่อเสียงโด่งดังคนหนึ่งคือ
ครูเมฆที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในเรื่องความคล่องแคล่วว่องไว รวดเร็ว เด็ดขาด มีลีลาท่าทางสวยงามและมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้เตะ ถีบ และศอก เป็นที่ลือกระฉ่อนจนนายทองดี เองถึงกับปฎิญาณกับตัวเองว่าจะต้องมาขอเรียนศิลปะมวยไทยกับสำนักท่าเสาให้ได้
และก็ได้มาเป็นลูกศิษย์ของครูเมฆผู้ประสิทธิประสาทวิชามวยไทยให้แก่ นายทองดี ซึ่งได้นำความรู้ที่ได้รับไปผสมผสานกับมวยจีนอีกต่อหนึ่ง
เอกลักษณ์ของมวยสายท่าเสา (มวยไทยภาคเหนือ)
เอกลักษณ์ของมวยสายท่าเสา การไหว้ครูจะไหว้พระแม่ธรณีก่อนทำพิธีไหว้ครู การไหว้ครูมวยท่าเสาจะไหว้บรมครูก่อนคือ พระอิศวร เพราะถือว่าพระอิศวรเป็นผู้ประสิทธิประสาทวิชาการต่อสู้แบบฉบับมวยท่าเสา การกราบพระรัตนตรัย จะกราบในทิศหรดี(ทิศตะวันตกเฉียงใต้) ซึ่งเป็นทิศที่ผีฟ้าไม่ข้าม การนับหน้าไหว้ครูไปทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นไปตามประเพณีของพราหมณ์ ในการเห็นหน้าโบราณสถาน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สอดคล้องกับความเชื่อว่าบรมครูของมวยท่าเสามีพระอิศวรและทิศตะวันออกเป็นทิศที่พระอาทิตย์ส่องแสงมาสู่โลก และมวลมนุษย์เป็นสัญญาลักษณ์ของวันใหม่และจุดเริ่มต้นที่เป็นมงคล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น